บทที่2 โลกและการเปลี่ยนแปลง

โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง


     ทฤษฎีที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน คือ ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณี(plate tectonic theory) มีรากฐานมาจากทฤษฎีทวีปเลื่อนของเวเกเนอร์และทฤษฎีพื้นสมุทรแผ่ขยายของเฮส

•ทฤษฎีทวีปเลื่อน
☺☻☺☻☺☻☺☻☺☻
     -ดร.อัลเฟรด  เวเกเนอร์ เสนอว่าผืนแผ่นดินบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) เป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด
     -พันเจีย ล้อมด้วยมหาสมุทรพันทาลัสซา ต่อมาแบ่งออกเป็น2ส่วน


          -ส่วนเหนือเส้นศูนย์สูตร คือ ลอเรเซีย ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ ทวีปยูเรเซีย    
          -ส่วนใต้เส้นศูนย์สูตร คือ กอนด์วานา ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปออสเตรเลีย อนุทวีปอินเดีย และเกาะมาดากัสการ์  



     -จากนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากการขยายตัวของมหาสมุทรทำให้ผืนแผ่นดินแยกออกจากกันจนทำให้ตำแหน่งในทวีปต่างๆเป็นเหมือนปัจจุบัน



 

•--------•---------------------•-----•--------------------••----------------------•-----------------------•-


•หลักฐานจากทฤษฎีของเวเกเนอร์
☺☻☺☻☺☻☺☻☺☻
1.รอยต่อของทวีป - การเชื่อมต่อของทวีปต่างๆที่แยกออกจากกันนั้นสามารถนำมาต่อกันได้ตามทฤษฎีของเวเกเนอร์ที่บอกว่าแต่ก่อนนั้นทวีปต่างๆเป็นผืนเดียวกันคือพันเจียแต่ต่อได้แบบไม่สมบูรณ์เพราะผลจากการกัดเซาะและการสะสมตัวของตะกอน

คลิปประกอบ นาทีที่ 4.00-4.37 

2.ความคล้ายคลึงของกลุ่มหินและแนวภูเขา
3.หินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง 

สภาพภูมิอากาศในอดีต สีเขียวคือป่าเขตร้อน สีขาวคือธารน้ำแข็ง 

4.ซากดึกดำบรรพ์ - มีซากฟอสซิลที่เหมือนกัน เช่น ไซโนกาทัส (Cynogathus) สัตว์เลื้อยคลานในยุคไทรแอสสิคอาศัยอยู่ในบราซิลและแอฟริกา, ลีสโทรซอรัส (Lystrosaurus) อาศัยอยู่ในแอฟริกา อินเดีย และแอนตาร์กติก, มีโซซอรัส (Mesosaurus) อาศัยอยู่ในตอนใต้ของอเมริกาใต้และแอฟริกา, ต้นกลอสโซเทรีส (Grossoteris) เคยแพร่พันธุ์อยู่ในอเมริกา แอฟริกา อินเดีย แอนตาร์กติก และออสเตรเลีย 


♥------------------♥--------------♥---♥-----------------------------------♥--------------------------♥-♥

•หลักฐานอื่นๆที่สนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์
☺☻☺☻☺☻☺☻☺☻

1.สันเขาใต้มหาสมุทรและร่องลึกก้นมหาสมุทร

2.อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร
รูปแสดงอายุหินบะซอลต์บริเวณรอยแยกกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

3.ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล 


การกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลก
♠--------------------------♠-♠------------------------------------♠-----------------------------------♠--♠


•กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
☺☻☺☻☺☻☺☻☺☻
-เกิดจากการภ่ายโอนความร้อนภายในโลก
-สารร้อนมีการเคลื่อนที่ไหลเวียนเป็นวงจร เรียกว่า วงจรพาความร้อน ทำให้แผ่นธรณีเคลื่อนที่

รูปแสดงการพาความร้อนในชั้นเนื้อโลก
♦---------------♦----♦------------♦♦♦-----------------------------------♦-----------♦------♦----------♦--

•ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
☺☻☺☻☺☻☺☻☺☻


1. แผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
- แผ่นธรณีทวีปเคลื่อนที่ออกจากกัน กลายเป็น "หุบเขาทรุด" (Rift valley)  แมกมาผลักให้แผ่นธรณีแยกออกจากกัน ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบมาลาวี ในทวีปแอฟริกา และ ทะเลแดง ซึ่งกันระหว่างทวีปแอฟริกากับคาบสมุทรอาหรับ  



-แผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่ออกจากกันแรงดันในชั้นฐานธรณีภาคดันให้แผ่นธรณีมหาสมุทรยกตัวขึ้นเป็นสันเขาใต้สมุทร (Mid oceanic ridge) แล้วเกิดรอยแตกที่ส่วนยอด แมกมาผลักให้แผ่นธรณีมหาสมุทรแยกออกจากกัน ตัวอย่างเช่น สันเขาใต้มหาสมุทรแอตแลนติก 




2.แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน แบ่งได้ 3 แบบ

          2.1แผ่นมหาสมุทรชนกับแผ่นมหาสมุทร - เกิดเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic island arc) เรียงตัวขนานกับแนวร่องลึกก้นสมุทรตัวอย่างหมู่เกาะภูเขาไฟที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ หมู่เกาะฟิลิปปินส์ และ หมู่เกาะญี่ปุ่น



          2.2แผ่นมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป - เกิดแนวภูเขาไฟเรียงรายตามชายฝั่ง ขนานกับร่องลึกก้นสมุทรตัวอย่างเทือกเขาที่เกิดขี้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ เทือกเขาแอนดีส บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ 



          2.3แผ่นธรณีทวีปชนกับแผ่นธรณีทวีป - กลายเป็นเทือกเขาที่สูงมาก เป็นแนวยาวขนานกับแนวปะทะ  ตัวอย่างเทือกเขาสูงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่  เทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล,  เทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป



3.แผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกัน
 - ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในระดับตื้น มีความรุนแรงปานกลาง ถ้าเกิดขึ้นบนแผ่นดินจะทำให้ถนนขาด  สายน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล หรือทำให้เกิดหน้าผาและน้ำตก ตัวอย่างแผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกันในมหาสมุทร ได้แก่ บริเวณสันเขากลางมหาสมุทรแอตเลนติก  ตัวอย่างแผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกันบนแผ่นดินได้แก่ รอยเลื่อนซานแอนเดรีย ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา 



○-----------○-------------------------------○------------------------○-○--○-----------------------○----

•การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก
☺☻☺☻☺☻☺☻☺☻

1.ชั้นหินคดโค้ง(fold)
-เป็นการเปลี่ยนแปลงชั้นหินที่สมบัติเป็นพลาสติก มีรูปแบบการโค้งงอ 2 ประเภท คือ
ชั้นหินโค้งรูปประทุน(anticline) และชั้นหินคดโค้งรูปประทุนหงาย(syncline)

2.รอยเลื่อน (fault)
-ระนาบนอบแตกตัดผ่านหินซึ่งมีการเคลื่อนที่ผ่านกัน แบ่งได้3ประเภทหลักๆ คือ
รอยเลื่อนปกติ รอยเลื่อนย้อน และรอยเลื่อนตามแนวระดับ








1 ความคิดเห็น: