บทที่4 ธรณีประวัติ

โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
บทที่4 ธรณีประวัติ
○○○○○○○○○○○○○○○○○○○○

ข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สามารถอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีต ได้แก่

1.อายุหินทางธรณีวิทยา
แบ่งได้ 2 แบบ
     1.1อายุเปรียบเทียบ (relative  age)  ใช้หาอายุหินและกลุ่มหินนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาอายุกัน
     1.2อายุสัมบูรณ์ (absolute  age)  เป็นอายุของหิน แร่ และซากดึกดำบรรพ์ ที่สามารถบอกจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน ซึ่งทำได้โดยการวิเคราะห์หาปริมาณไอโซโทป วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิต ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่ รูบิเดียม-87(หาอายุหินที่มีอายุประมาณ100ล้านปี) ธาตุคาร์บอน-14(มักใช้หาซากที่อายุน้อยกว่า70000ปี)  ธาตุโพแทสเซี่ยม-40 ธาตุเรเดียม-226  และธาตุยูเรเนียม-238 เป็นต้น 

2.ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (Fossil)
- ซากดึกดำบรรพ์เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมอยู่ในชั้นหินตะกอนเเล้วเปลี่ยนเป็นหิน





- ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฎให้เห็นเป็นช่วงชันสั้นๆ ดังนั้นสามารถใช้บอกอายุของหินที่มีซากนั่นอยู่ได้ ซากดึกดำบรรพ์ประเภทนี้เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
- ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้เเน่นอน เเละปรากฎให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งเเล้วก็สูญพันธ์ นักธรณีวิทยาจะนิยมใช้วิธีนี้หาอายุของหินตะกอน เช่น ไทรโลไบต์ แกรปโตไลต์ และฟิวซูลินิด ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ดัชนี ไทรโลไบต์ บริเวณเกาะตะรุเตา แกรปโตไลต์ อำเภอฝาง เชียงใหม่ และการพบฟิวซูลินิดทรงรีหรือคตข้าวสารในหินปูน จ.สระบุรีและลพบุรี


ไทรโลไบต์ที่ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีเยี่ยมจาก เบอร์เกสส์ เชล หนวดและขามีสภาพที่เป็นคราบฟิล์มของคาร์บอน
รูปลักษณ์สัณฐานของแกรฟโตไลต์จาก Encyclopædia Britannica.
File:TriticitesPlattsmouthChertRedOakIowaPermian.jpg
ฟิวซูลินิด หรือ ฟอแรมมินิเฟอราขนาดใหญ่ 


•ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย
- มีการค้นพบซากไดโนเสาร์ บริเวณ อ.ฝาง จ.ขอนเเก่น เป็นไดโนเสาร์กินพืช บริเวณภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
- ซากดังกล่าวจะพบในหินทราย หินทรายเเป้งซึงเป็นหินชนิดหนึ่งในหินตะกอน
- ซากดึกดำบรรพ์พืชที่พบในประเทศไทย ได้เเก่ ใบไม้ ละองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเล เเละไม้กลายเป็นหิน

- ความเปลี่ยนเเปลงของชนิดซากดึกดำบรรพ์สามารนำมาจัดอายุทางธรณีวิทยา เรียกว่า ธรณีกาล


นักธรณีวิทยาแบ่งช่วงเวลาของโลก นับตั้งแต่อุบัติขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้มาตราธรณีกาล (Geological time scale)  ซึ่งพิจารณาจากชนิดของซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ (Fossil) ซึ่งฝังตัวอยู่ในชั้นหิน โดยจำแนกคาบเวลาออกเป็น บรมยุค มหายุค ยุค สมัย ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 11 ยุค  โดยพิจารณาจากประเภทของฟอสซิลซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน  ดังนี้

บรมยุค 
(Aeon)
มหายุค
(Era)
ยุค
(Period)
เวลา
(ล้านปีก่อน)
เหตุการณ์
อาร์คีโอโซอิก
-
-
พรีแคมเบรียน
4,600
กำเนิดโลก
โพรเทอโรโซอิก
2,500
พืชและสัตว์ชั้นต่ำ กำเนิดออกซิเจน
ฟาเนอโรโซอิก
-
พาลีโอ
โซอิก
แคมเบรียน
545
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ในทะเล
ออร์โดวิเชียน
490
หอยและปู ปลาไม่มีขากรรไกร
ไซลูเรียน
443
พืชบกใช้สปอร์ ปลามีขากรรไกร
ดีโวเนียน
417
แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชมีท่อ
คาร์บอนิเฟอรัส
354
ป่าผืนใหญ่ เกิดสัตว์เลื้อยคลาน
เพอร์เมียน
295
เฟิร์นและสน การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุด
เมโสโซอิก
ไทรแอสสิก
248
สัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม
จูแรสสิก
205
ไดโนเสาร์เฟื่องฟู นกพวกแรก
เครเทเชียส
144
พืชดอก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ในปลายยุค
เซโนโซอิก
เทอเชียรี
พาลีโอจีน
65
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์
นีโอจีน
24
ลิงยืนสองขา โฮโมอีเรกตัส
ควอเทอนารี
ไพลส์โตซีน
1.8
เสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ
โฮโลซีน
0.01
มนุษย์โฮโมเซเปียนส์

ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบเทียบกับมาตราธรณีกาล




3.การลำดับชั้นหิน
เนื่องจากชั้นหินเกิดจจากทับถมกันของตะกอน ดังนั้น หินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน เเละหินที่อายุน้อยกว่าจะซ้อนอยู่ด้านบนเป็นชั้นๆ ตามลำดับ
- การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว หรรือภูเขาไฟระเบิด ทำให้ชั้นหินที่อยู่ในเเนวราบเกิดการเอียงเท
- โครงสร้างทางธรณีวิทยาในชั้นหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้











THE END

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น